dimanche 8 février 2009

Nous sommes PETIT OISEAU



โครงงานมัลติมีเดียเรื่อง

การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย

ประกอบรายวิชา

ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ

เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2


อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

อาจารย์ปาริชาติ สุทธิเวทย์


อาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ

M.Dominique LEGRAND
Mme.Pongpan LEGRAND





หลักการและเหตุผลในการทำ
โครงงานการละเล่นของเด็กไทย

การเล่นกับเด็กเป็นของคู่กันมาตั้งแต่โบราณ
คงไม่มีใครทราบได้แต่การละเล่นก็เป็นเรื่องที่สืบเนื่องแสดงถึง
เอกลักษณ์ของชนชาติหรือท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ถ่ายทอด
เข้าสู่การดำรงชีวิตและตกทอดกันมาเป็นรุ่นๆ
ดังนั้นคณะผู้จัดทำได้เลือก การละเล่น
คือ รีรีข้าวสาร วิ่งเปี้ยว และแม่กาฟักไข่
เพื่อเป็นการนำเสนอการละเล่นพื้นบ้านที่สร้างสรรค์
และสร้างความสามัคคี ให้ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทย
โดยนำเสนอเป็นภาษาฝรั่งเศส อีกทั้งยังเป็นการนำความรู้
ทางภาษาฝรั่งเศสมาประยุกต์ใช้อีกด้วย


จุดประสงค์ในการทำโครงงาน

1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 18 คน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ
พายัพ สามารถที่จะบอกเรื่องราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านอย่างน้อย
กลุ่มละ 3 การละเล่น

2. ในแต่ละกลุ่ม สามารถนำการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย นำเสนอผ่าน blog เป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทยได้และสามารถนำภาษาฝรั่งเศส
มาใช้ในการสื่อสารได้



เป้าหมายของโครงงาน

ด้านคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ เห็นความสำคัญ ประโยชน์ การใช้ภาษาฝรั่งเศส และสิ่งที่ได้จากการศึกษาการละเล่นพื้นบ้านได้

ด้านปริมาณ
นักเรียนทุกคนสามารถถ่ายทอดเรื่องราวการละเล่นพื้นบ้านกลุ่มละ 3 การละเล่นเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทยได้

สมมุติฐานและการกำหนดตัวแปร

สมมุติฐาน
นักเรียนทุกคนสามารถบอกวิธีการเล่นและกติกาการละเล่นพื้นบ้าน
ของเรื่องที่ศึกษาได้อย่างถูกต้องและถ่ายทอดเป็นภาษาฝรั่งเศสได้

ตัวแปรต้น
การละเล่นพื้นบ้าน

ตัวแปรตาม
การใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในการทำโครงงานชิ้นนี้

ตัวแปรควบคุม
1.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 18 คน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
2.การละเล่นพื้นบ้าน คือ รีรีข้าวสาร แม่กาฟักไข่และวิ่งเปี้ยว

ระยะเวลาในการดำเนินโครงงาน
ตั้งแต่วันพุธที่ 22 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551-วันอังคารที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552

งบประมาณ
ประมาณ 100 บาท

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 18 คน
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
สามารถนำความรู้ทางภาษาฝรั่งเศสมาประยุกต์ใช้กับการทำโครงงาน
และสามารถนำการแสดงการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยสู่ชุมชนได้


ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและแนวทางการแก้ไข

ปัญหาที่เกิดขึ้น
-การแต่งเพลงการละเล่นพื้นบ้านเป็นภาษาฝรั่งเศสให้คล้องจอง
และไพเราะต้องใช้เวลามากและไม่ถูกตามหลักไวยากรณ์


แนวทางการแก้ไข
-ได้รับการแนะนำการที่ปรึกษาพิเศษจาก
Monsieur Dominique และ Madame Pongpan LEGRAND












ขอขอบคุณรูปภาพประกอบการทำบล๊อคจาก

http://www.thongparkdee.th.gs/web-t/hongparkdee/page6.html
และขอขอบพระคุณ นายหลาวทอง สุขศรี (น้าเอก)
ผู้ถ่ายทำวิดีโอการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยของกลุ่ม
PETIT OISEAU